 |
|
กว่าจะเป็น เชียงใหม่มาราธอน
ภายใต้สภาพวิกฤตเศรษฐกิจของโลก ผนวกกับวิกฤตการเงินของประเทศยักษ์ใหญ่ รวมทั้งราคาน้ำมันสูงขึ้น ในขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังช่วยกันพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเอากลยุทธ์ต่างๆออกมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นมาตรการที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนนำเงินตราเข้าประเทศอย่างได้ผล แต่ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจนี้ใช่ว่าจังหวัดเชียงใหม่ หรือประเทศไทย จะประสบปัญหานี้อยู่เพียงแห่งเดียว เมืองต่างๆทั้งเมืองเล็หเมืองใหญ่ทั่วทุกมุมโลก ต่างก็ประสพปัญหานี้เช่นกัน ทุกเมือง ทุกประเทศ ต่างก็มุ่งพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวขึ้น ดังนั้นปัจจัยประการสำคัญที่จะทำให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศให้ประสพความสำเร็จได้ นอกจากการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอันเป็นอุปสรรคทางด้านการท่องเที่ยวแล้ว ยังจะต้องได้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายในเมืองนั้นๆ ทั้งภาคประชาชน สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำให้กิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้น ให้มีความสอดคล้องและสามารถนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเมืองแต่ละสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งมีความแตกต่างหัน ให้โดดเด่นอย่างชัดเจน จากกิจกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งออกมาเป็นจุดขาย .....
|
 |
|
การวิ่งมาราธอน เป็นอีกหนึ่งในกิจกรรม ซึ่งเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญและนิยมจัดขึ้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างถิ่นให้เดินทางเข้ามาร่วมกิจกรรมและท่องเที่ยวในเมืองของตัวเองอย่างได้ผล เช่น บอสตันมาราธอน, แอล.เอ.มาราธอน, ลอนดอนมาราธอน, ฮอนโนลูลูมาราธอน, ซีดนีย์มาราธอน, นิวยอร์คมาราธอน, รวมไปถึงมหานครใหญ่ๆในเอเชีย อย่าง โตเกียวมาราธอน, ปักกิ่งมาราธอน, ฮ่องกงมาราธอน, สิงคโปร์มาราธอน, ไนโรบีมาราธอน, บูมไบมาราธอน ฯลฯ |
 |
|
ในประเทศไทย มีหลายจังหวัดได้จัดกิจกรรมการวิ่งมาราธอนขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพมาราธอน, พัทยามาราธอน, ขอนแก่นมาราธอน, ภูเก็ตมาราธอน, จอมบึงมาราธอน, แพร่มาราธอน, สุรินทร์มาราธอน, สงขลามาราธอน, เมืองเลยมาราธอน, และเขื่อนคลองท่าด่านนครนายกมาราธอน, นครพนมมาราธอน และยังมีจังหวัดเล็กๆ อีกหลายจังหวัด แม้จะขาดปัญจัยพื้นฐาน แต่ก็ยังมีแนวคิดและความพยายามที่จะจัดงานวิ่งมาราธอนขึ้นในจังหวัดของตน ฯลฯ |
 |
|
เชียงใหม่ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, เทศกาลและประเพณี โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกหลากหลายมากมาย โดยในปัจจุบันนี้ เชียงใหม่ ยิ่งเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆที่มีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะโรงแรมห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีห้องพักทะลุเกิน 30,000 ห้องแล้วหลังงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของคนคนเชียงใหม่ทุกคน รวมไปถึงทุกภาคส่วนภาคราชการในจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะต้องคิดและสรรค์สร้างกิจกรรมใหม่ๆ กิจกรรมดีๆ ให้ผู้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่นอกเหนือจากกิจกรรมเดิมๆ ที่ ปู่ ย่า ตา ทวด ได้นำร่องจัดขึ้น จนเป็นประเพณีจวบจนถึงทุกวันนี้ |
 |
|
“เชียงใหม่มาราธอน” (Chiang Mai Marathon ) เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เกิดจากความคิดและลงมือทำของกลุ่มคนชาวเชียงใหม่เล็กๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเมตตาศึกษา (วัดเจดีย์หลวง) ซึ่งมีใจรักในการวิ่งระยะไกลซึ่งพอจะมีความรู้ในการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอน ตลอดจนมีความสัมพันธ์อันดีกับวงการวิ่งมาราธอน ทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้ริเริ่มจัดโครงการนี้ขึ้นโดยงบประมาณส่วนตัวแบบเศรษฐกิจพ่อเพียง
แม้ว่าการจัดกิจกรรมวิ่งเชียงใหม่มาราธอนที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่ค่อยให้ความร่วมแรงร่วมใจในการจัดเท่าที่ควรก็ตาม ทางฝ่ายจัดการแข่งขันจึงได้กำกนดจัด เชียงใหม่มาราธอน ขึ้น ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของปี โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2549 ครั้งที่ 2 เมื่อ 30 ธันวาคม 2550 ครั้งที่ 3 เมื่อ 28 ธันวาคม 2551 ครั้งที่ 4 เมือ 27 ธันวาคม 2552 ครั้งที่ 5 กำหนดจัดขึ้น 26 ธันวาคม 2553 และตั้งแต่ครั้งที่ 6 เป็นต้นมา ก็กำหนดจัดขึ้นในวันวันอาทิตย์ก่อนอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม โดยทีมงานผู้จัดก็ยังมีความมุ่งมั้นและเป้าหมายที่จะจัดให้เป็นกิจกรรมประเพณีต่อเนื่องไปทุกๆปี เฉกเช่นงานประเพณีสงกรานต์เชียงใหม่ (ปาเวณีปี๋ใหม่เมือง) และเทศกาลงานลอยกระทงยี่เป็งเชียงใหม่ …. |
 |
|
ว่ากันว่า...ในประเทศไทย มีนักวิ่งมาราธอนเป็นหมื่นคน
แต่ในประเทศไทย มีผู้จัดมาราธอนได้ดีมีมาตรฐานไม่เกิน 10 คน
ซึ่งคนที่ว่านั้น. วันนี้ส่วนใหญ่ อายุเกินกว่า 70 ปี ไปกันหมดแล้ว..
จากนักวิ่งหางเครื่องคนหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสเข้ามาคลุกคลีอยู่ในวงการวิ่งเพื่อสุขภาพในเมืองไทย กว่า 30 ปีที่ผ่านมา นอกจากจะได้ลงสนามเป็นนักวิ่งเพื่อสุขภาพในสนามทุกระยะทาง ทั้งในและต่างประเทศ, ยังได้เป็นนักจักรยานเสือภูเขา, นักไตรกีฬา, เป็นนักข่าว, ช่างภาพ, บรรณาธิการบริหารนิตยสาร วิ่ง-เสือภูเขา, เป็นเว็บมาสเตอร์, เป็นเด็กให้น้ำ, เป็นกองเชียร์, คนทำเส้นทาง, นักปั่นนำทาง-ปั่นประกบ-ปั่นปิดท้าย, ขับรถนาฬิกานำหน้าขบวนวิ่งแนวหน้า, ปิดท้ายขบวนดูแลนักวิ่งกลุ่มท้าย และยังมีโอกาสเดินทางสัญจรไปร่วมวิ่ง, ไปทำกิจกรรมเกี่ยวกับการวิ่ง รวบรวมและก่อตั้งชมรมวิ่งทั่วไทย 75 จังหวัด (ขาดไป 2 จังหวัดที่เกิดใหม่) เป็นผู้จัดวิ่ง ทั้ง กทม.และ ตจว. ทั้งในนามส่วนบุคคลและในนามบริษัท มากกว่า 600 สนาม หลายๆครั้งยังเลยออกไปจัดยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย, และที่สำคัญยังได้เป็นพิธีกรดำเนินงาน, เป็นผู้อำนวยการจัดงานวางแผนงาน ประสานงานทุกหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขัน, หลายสนามลงทุนจัดเอง หาผู้สนับสนุนเอง จากสนามมาราธอนเล็กๆ นักวิ่งร่วมงานไม่กี่ร้อยคน และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสนามมาราธอนนานาชาติ โดยไม่ต้องใส่คำว่าอินเตอร์เนชั่นแนล
ในปี 2015 นี้..ผมได้รับโอกาสดีจากทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ไว้วางใจทีมงาน JOG&JOY จัดการแข่งขันรายการวิ่ง มากถึง 30 รายการ (4 มาราธอนนานาชาติ, 6 ฮาล์ฟมาราธอน และ 20 เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน) วันนี้...สนามวิ่งที่เราจัดขึ้น อาจไม่ใช่สนามวิ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือ เป็นสนามวิ่งที่มีคนร่วมงานมากที่สุด แต่เราจะตั้งใจทำสนามวิ่งที่ดีมีคุณภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์กับแผ่นดินเกิดให้มากที่สุด เท่าทีจะทำได้ ขอบคุณทุกๆท่านที่มีสาวนร่วม จากวันนั้น ถึงวันนี้ เราพร้อมแล้วที่จะก้าวยาวๆไปข้างหน้า และก้าวต่อๆไป ให้ถึงเส้นชัย...
สายัณห์ สมดุลยาวาทย์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท จ๊อกแอนด์จอย จำกัด
ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการแข่งขัน เมืองไทยเชียงใหม่มาราธอน
|
 |
 |
|
STORY
ความเป็นมาของ "ถ้วยรางวัลเกียรติยศ และ เหรียญผู้พิชิต"
เชียงใหม่มาราธอน 2560 (ครั้งที่ 12)
พญานาคในดินแดนล้านนาไทย
มีตำนานเกี่ยวกับพญานาคอยู่มากเช่น ตำนานสิงหนวัติ เป็นตำนานเก่าแก่ของทางภาคเหนือเมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติ อพยพผู้คนมาจากทางเหนือพญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่และให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมืองเป็นเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมายกทัพไปปราบเมืองอื่นได้และรวมดินแดนเข้าด้วยกันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "แคว้นโยนกนาคนคร" ต้นวงของพญามังรายผู้ก่อตั้งอาณาจักร ล้านนา
ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหารมีรูปพญานาคเหนือราวบันไดประตูทางเข้าพระวิหารหลวงซึ่งกล่าวกันว่า เป็นรูปพญานาคที่สร้างได้สัดส่วนสวยงามที่สุดในภาคเหนืออายุกว่า 200 ปี วัดพระสิงห์วรวิหารศาสนสถานภายในวัดก็มีประติมากรรมเกี่ยวกับพญานาคประดับอยู่มากมายเช่นเชิงชายหลังคาพระอุโบสถพระวิหารหอพระไตรปิฎก เป็นต้นวัดเชียงมั่นวัดแสนฝาง วัดศรีสุพรรณและแทบทุกวัดในดินแดนล้านนาก็ล้วนแล้วแต่มีพญานาคเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ตัวกินนาค
หลายท่านส่วนใหญ่คงต้องไปเที่ยวภาคเหนือ ที่พลาดไม่ได้คงต้องทำบุญตามวัดต่างๆ ซึ่งมีทั้งความสวยและงดงามในรูปแบบศิลปะล้านนา ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดลายฝาผนัง ตัวหน้าบัน ช่อฟ้า หรือแม้แต่บันไดนาค ท่านสังเกตมั้ยครับว่า รูปปั้นตัวนาคที่ประดับอยู่ตรงบันไดทางขึ้นทั้ง 2 นั้น มันออกมาจากปากตัวอะไรซักอย่าง ตัวที่อ้าปากงับนาคตรงบันไดวัดตามทางเหนือ (ภาคอื่นก็มีเหมือนกัน) เราเรียกกันว่า มกร (อ่านว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน) หรือมีอีกชื่อหนึ่งในโลกป่าหิมพานต์คือ เหรา (อ่านว่า เห-รา) ลักษณะของตัวนี้กล่าวกันไว้ว่า เป็นลูกครึ่งต่างชาติ มีพ่อเป็นนาค ส่วนแม่เป็นจรเข้ โดยมีช่วงลำตัวยาวเหมือนนาค แต่ว่ามีขางอกออกมา ที่ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนนาคแต่ว่าตรงปากนั้นเป็นจรเข้ อาศัยอยู่แถวบริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ เป็นสัตว์ในความเชื่อทางแถบอินเดีย ศรีลังกา และพม่า ที่เรียกว่า มกร แต่ก่อนชาวล้านนารู้จักแต่เพียงนาคหรือพญานาคทั้งนั้น ครั้นพอเห็นตัวที่มีหัวเป็นนาคหรือสำรอกนาคนั้นมีขางอกออกมา ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี ก็เลยคาดกันว่า ไปรับอิทธิพลจากจีนที่เรียกงูหรือนาคที่มีขาว่า มังกร หรือ มกร แล้วมันกินหรือคายนาค ตามจริงแล้วตัวเหรากำลังคายนาค ไม่ใช่กำลังกิน ซึ่งการคายนาคของเหรานี้ คงมองได้ 2 แบบ
แบบที่ 1: ทางด้านการเมืองและศิลปะ
ในสมัยก่อนทางตอนเหนือของประเทศไทย มีอาณาจักรที่เรียกว่า อาณาจักรโยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร กล่าวกันว่า ชาวเมืองนี้สืบเชื้อสายมาจากพญานาคจากเมืองบาดาล ต่อมาอาณาจักรแห่งนี้ก็ล่มสลายเพราะเหตุแผ่นดินไหว ผู้คนที่รอดก็พากันอพยพไปตั้งรกรากยังที่อื่นจนกลายเป็นดินแดนล้านนา และยังคงศิลปะที่มีนาคเป็นสิ่งศักสิทธิ์อยู่ ส่วนตัวเหรา นั้นเป็นสัตว์ที่เป็นตัวแทนจากพม่า ต่อมาพม่าก็ได้เข้าครอบครองอาณาจักรล้านนา ดังนั้น การที่เห็นตัวเหราคายนาคในศิลปะทางภาคเหนือนั้น ก็พอจะกล่าวได้ว่า พม่าต้องการข่มอาณาจักรล้านนาที่อยู่ภายใต้การปกครองว่า "เอ็งอยู่ในปากข้าแล้ว จะกัดให้ตายเมื่อไหร่ก็ได้" อารมณ์ประมาณนั้น หรือถ้ามองในด้านศิลปะ จะหมายถึงเป็นการหลุดพ้นจากอิทธิพลศิลปะและการเมืองของพม่าที่เข้ามาครอบครองอาณาจักรล้านนาถึง 200 ปี
แบบที่ 2: ทางด้านพุทธศาสนา
ตัวเหรา ในทางพุทธศาสนา หมายถึง "อุปทาน ความยึดติด ความลุ่มหลง" ส่วนนาคนั้น หมายถึง "ความมีชีวิต ร่างกาย จิตใจของเรา" ถ้าอุปทาน ความลุ่มหลง(ตัวเหรา) มันจับเราไว้(นาค) เราก็จะรู้สึกเจ็บปวด ไปไหนไม่ได้ เพราะว่าเรายังยึดติดอยู่ ดังนั้น หากไม่อยากเจ็บปวดก็ต้องปล่อยวางจากสิ่งยึดติดต่างๆ (หลุดออกจากปากเหราให้ได้) นี่จึงเป็นกุศโลบายที่คนโบราณสอนทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างเรา . . . |
|