LOGO สัญลักษณ์
เสื้อที่ระลึก - ถ้วยรางวัล - เหรียญผู้พิชิต
เชียงใหม่มาราธอน


"เชียงใหม่มาราธอน" มิใช่แค่กิจกรรมการแข่งขันวิ่งมาราธอนประเพณีนานาชาติเท่านั้น ผู้จัดในฐานะคนเชียงใหม่ ยังได้นำเอากิจกรรมนี้ เป็นการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม วิถีของคนล้านนา เต็มไปด้วยความเชื่อมากมาย ที่แสดงออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งพิธีกรรม ศิลปะกรรม และความเชื่อมาเป็นสิ่งเชื่อมโยงต่อกัน โดยมีผลต่อจิตใจของคนล้านนา วิถีดั้งเดิมที่งดงาม ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่กับสังคมไทยสืบไป โดยในการจัดงานแต่ละปี ผู้จัดได้นำเอา ศิลปะวัฒนธรรม วิถีของคนล้านนา มาเป็นแบบของ เสื้อที่ระลึก ถ้วยรางวัล และแบบเหรียญผู้พิชิต


LOGO รายการแข่งขัน เชียงใหม่มาราธอน

          มาจาก การฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว ลีลาท่ารำของฟ้อนเล็บคล้ายกับ ฟ้อนเทียน ต่างกันที่ฟ้อนเทียนมือทั้งสองถือเทียน ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของทางภาคเหนือโดยเฉพาะ รูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

          ฟ้อนเล็บ ของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากรได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวงในรัชกาลที่ ๗ และถ่ายทอดให้ เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรโดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ
แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบ เสื้อที่ระลึก-เหรียญ-ถ้วยรางวัล ปี 2023 (ครั้งที่ 18)

STORY 2023

          "เชียงใหม่มาราธอน" มิใช่แค่กิจกรรมการแข่งขันวิ่งมาราธอนประเพณีนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น ผู้จัดในฐานะคนเชียงใหม่ ยังได้นำเอากิจกรรมนี้ เป็นการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม วิถีของคนล้านนา ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมากมาย ซึ่งแสดงออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งพิธีกรรม ศิลปะกรรม และความเชื่อมาเป็นสิ่งเชื่อมโยงต่อกัน โดยมีผลต่อจิตใจของคนล้านนา วิถีดั้งเดิมที่งดงาม ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่กับสังคมไทยสืบไป

          "ช้างมงคล" พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้น หยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราช จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้นมา โดยจะเห็นได้ว่า “ช้างมงคล” ยังถูกนำไปใส่ไว้ในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด และชื่อสถานที่ต่างๆ ได้แก่
- ตรา ประจำจังหวัดเชียงใหม่
- ตรา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- ตรา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- ประตูช้างเผือก
- ถนนช้างเผือก

- ถนนช้างม่อย
- ถนนช้างคลาน

          โดยในปีนี้ ผู้จัดงานวิ่งมาราธอนประเพณีนานาชาติ "เมืองไทย-เชียงใหม่มาราธอน 2023"  ได้นำเอา “ช้างมงคล” มาเป็นแนวทางในการออกแบบของที่ระลึก โดยมอบให้ “สล่า” (นักออกแบบ) ออกแบบ เสื้อที่ระลึก-เหรียญรางวัล-ถ้วยรางวัล เพื่อใช้ในกิจกรรมครั้งนี้


แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบ เหรียญและเสื้อที่ระลึก ปี 2022 (ครั้งที่ 17)



ปี 2021 (ครั้งที่ 16) 

ได้นำเอามรดกทางวัฒนธรรม "ล้องัว-งัวล้อ-วัวล้อ (วัวเทียมเกวียน) หนึ่งในวิถีชีวิตของคนล้านนา มาเป็นแบบ เสื้อวิ่งที่ระลึก-เสื้อผู้พิชิตมาราธอนของงาน และแบบเหรียญผู้พิชิต
 
          กว่า 80 ปีที่ผ่านมา ในจังหวัดเชียงใหม่นิยมใช้ช้าง และวัว ในการขนส่งสินค้าต่างๆ พาหนะในการขนส่งสินค้าทางบกในอดีตที่สำคัญคือ ช้าง ม้า วัว ควาย เช่น ไม้ซุง สินค้าอุปโภคบริโภค ของป่า อื่น ๆ นอกจากนั้นแล้วพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าในอดีตยังเป็นส่วนในการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน และการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับบ้านเมือง โดยเฉพาะ งัวล้อ (ในภาษาเชียงใหม่) หรือ วัวล้อ (วัวเทียมเกวียน) “งัวล้อ”ซึ่งเป็นพาหนะทางบกที่สำคัญมากของจังหวัดเชียงใหม่ มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ก่อนที่รถบรรทุก และรถยนต์จะเข้ามาแทนที่ จนถึงปัจจุบัน “งัวล้อ” คือ การใช้วัวเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปขายยังที่ต่างๆ เป็นพาหนะที่ใช้ทั้งในเมืองและชนบท การใช้งัวล้อเริ่มนำมาใช้เยอะขึ้นในช่วงที่สมัยการค้าทางเรือ และการค้าทางรถไฟ กำลังเจริญเติบโต นอกจากนั้น งัวล้อยังเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าจากชนบทมายังท่าเรือ และสถานีรถไฟ ในช่วงแรกๆ พ่อค้าคนจีนจะเป็นคนจ้าง งัวล้อ เดินไปทางไปซื้อสินค้าเกษตรในเขตอำเภอชนบท เช่น ข้าว ถั่ว และกระเทียม เป็นต้น แล้วว่าจ้างให้งัวล้อบรรทุกเข้ามาไว้ที่บริเวณท่าเรือหรือสถานีรถไฟ เพื่อพ่อค้าคนจีนจะได้นำสินค้าที่ขนมาส่งต่อไปขายที่กรุงเทพฯ “งัวล้อ” ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าจากท่าเรือ และสถานีรถไฟไปส่งขายยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งกาดในเมือง และชนบท คนจีนที่เปิดร้านขายของอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำการซื้อ น้ำปลาจากพ่อค้าแถวสันป่าข่อย แล้วจ้างล้อเกวียนมาส่งที่ประตูเชียงใหม่ นอกจากนั้นแล้วสองข้างถนนในเขตเมืองเชียงใหม่มีล้อเกวียนจอดรอรับจ้างขนของอยู่เป็นจำนวนมาก “งัวล้อ” จึงถือได้ว่า เป็นยานพาหนะในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ และชาวลานนา ก่อนที่ รถคอกหมู, รถสี่ล้อและรถบรรทุก จะเข้ามาแทนที่ “งัวล้อ” ก็ค่อยๆ หมดบทบาทลง แต่ทุกวันนี้ยังอาจมีการใช้งานตามหมู่บ้างบางแห่ง เช่น หมู่บ้านแม่ทา จังหวัดลำพูน, เชียงตุง การจัดการแข่งขันวิ่ง "เชียงใหม่มาราธอน ครั้งที่ 16" ในปีนี้ ตรงกับปีนักษัตรฉลุ (ปีวัว หรือ ปีงัวในภาษาเหนือ) และยังเป็นปีที่โรค โควิด-19 ระบาดหนักทั่วโลก (ปีแห่งโควิด หรือโคขวิด) ฝ่ายจัดการแข่งขันจึงได้นำเอาปีนักษัตรฉลุ (ปีงัว/ปีวัว) มาเป็นแนวคิดในการออกแบบของที่ระลึก (เสื้อวิ่ง-เสื้อ Finisher-เหรียญผู้ชิต) ให้กับผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม...
 

ปี 2020 (ครั้งที่ 15) 

ได้นำเอามรดกทางวัฒนธรรม "สักหมึกขาลาย" หนึ่งในวิถีชีวิตของคนล้านนา มาเป็นแบบ เสื้อวิ่งที่ระลึก-เสื้อผู้พิชิตมาราธอนของงาน และแบบเหรียญผู้พิชิต
เรามาลุ้นกันดูนะครับว่า ผู้ออกแบบคนรุ่นใหม่ (สล่า 2020) จะนำเอามรดกทางวัฒนธรรมของการสักหมึกขาลาย มาออกแบบเสื้อได้อย่างไรกัน

 

ปี 2019 (ครั้งที่ 14)

นำเอามรดกทางวัฒนธรรม "ศิลปหัตถกรรม ผ้าทอล้านนา" มาเป็นแบบของเสื้อที่ระลึกของงาน

 

ปี 2018 (ครั้งที่ 13)

นำเอามรดกทางวัฒนธรรม ตุงไส้หมู ซึ่งจะใช้ใน วันพญาวัน ในเทศกาล“ปี๋ใหม่เมือง” หรือ “สงกรานต์”  มาเป็นแบบเสื้อที่ระลึกของงาน

 

ปี 2017 (ครั้งที่ 12)

นำเอาศิลปะของ รูปปั้นพญานาควัดเจดีย์หลวงวรวิหาร มาเป็นแบบเสื้อและถ้วยรางวัล