เชียงใหม่มาราธอน
มาราธอนแห่งศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว

"เชียงใหม่มาราธอน" มิใช่แค่กิจกรรมการแข่งขันวิ่งมาราธอนเท่านั้น ผู้จัดในฐานะคนเชียงใหม่ ยังได้นำเอากิจกรรมนี้ เป็นการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม วิถีของคนล้านนา เต็มไปด้วยความเชื่อมากมาย ที่แสดงออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งพิธีกรรม ศิลปะกรรม และความเชื่อมาเป็นสิ่งเชื่อมโยงต่อกัน โดยมีผลต่อจิตใจของคนล้านนา วิถีดั้งเดิมที่งดงาม ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้คู่กับสังคมไทยสืบไป โดยในการจัดงานแต่ละปี ผู้จัดได้นำเอา ศิลปะวัฒนธรรม วิถีของคนล้านนา มาเป็นแบบของ เสื้อที่ระลึก ถ้วยรางวัล และแบบเหรียญผู้พิชิต

STORY
แนวคิดในการออกแบบ LOGO
เสื้อวิ่งที่ระลึก-เหรียญผู้พิชิต
ของงานวิ่ง เชียงใหม่มาราธอน

ฟ้อนเล็บ

 

ฟ้อนเล็บฉบับกรมศิลป

 


LOGO รายการแข่งขัน เชียงใหม่มาราธอน

          มาจาก การฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว ลีลาท่ารำของฟ้อนเล็บคล้ายกับ ฟ้อนเทียน ต่างกันที่ฟ้อนเทียนมือทั้งสองถือเทียน ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของทางภาคเหนือโดยเฉพาะ รูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

          ฟ้อนเล็บ ของกรมศิลปากร ได้รับรูปแบบการฟ้อนจากคุ้มเจ้าหลวงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นผู้ปรับปรุง ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ที่กรุงเทพมหานครในคราวสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากรได้นำมาฝึกให้ละครคณะหลวงในรัชกาลที่ ๗ และถ่ายทอดให้ เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรโดยมีเนื้อร้องประกอบการแสดง เพื่อเป็นการบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณีทางภาคเหนือ
แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2022 (ครั้งที่ 17)

แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2021 (ครั้งที่ 16)


ล้องัว-งัวล้อ-วัวล้อ (วัวเทียมเกวียน)

          กว่า 80 ปีที่ผ่านมา ในจังหวัดเชียงใหม่นิยมใช้ช้าง และวัว ในการขนส่งสินค้าต่างๆ พาหนะในการขนส่งสินค้าทางบกในอดีตที่สำคัญคือ ช้าง ม้า วัว ควาย เช่น ไม้ซุง สินค้าอุปโภคบริโภค ของป่า อื่น ๆ นอกจากนั้นแล้วพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าในอดีตยังเป็นส่วนในการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน และการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับบ้านเมือง โดยเฉพาะ งัวล้อ (ในภาษาเชียงใหม่) หรือ วัวล้อ (วัวเทียมเกวียน) “งัวล้อ”ซึ่งเป็นพาหนะทางบกที่สำคัญมากของจังหวัดเชียงใหม่ มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ก่อนที่รถบรรทุก และรถยนต์จะเข้ามาแทนที่ จนถึงปัจจุบัน “งัวล้อ” คือ การใช้วัวเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปขายยังที่ต่างๆ เป็นพาหนะที่ใช้ทั้งในเมืองและชนบท การใช้งัวล้อเริ่มนำมาใช้เยอะขึ้นในช่วงที่สมัยการค้าทางเรือ และการค้าทางรถไฟ กำลังเจริญเติบโต นอกจากนั้น งัวล้อยังเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าจากชนบทมายังท่าเรือ และสถานีรถไฟ ในช่วงแรกๆ พ่อค้าคนจีนจะเป็นคนจ้าง งัวล้อ เดินไปทางไปซื้อสินค้าเกษตรในเขตอำเภอชนบท เช่น ข้าว ถั่ว และกระเทียม เป็นต้น แล้วว่าจ้างให้งัวล้อบรรทุกเข้ามาไว้ที่บริเวณท่าเรือหรือสถานีรถไฟ เพื่อพ่อค้าคนจีนจะได้นำสินค้าที่ขนมาส่งต่อไปขายที่กรุงเทพฯ “งัวล้อ” ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าจากท่าเรือ และสถานีรถไฟไปส่งขายยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งกาดในเมือง และชนบท คนจีนที่เปิดร้านขายของอยู่ที่ตลาดประตูเชียงใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำการซื้อ น้ำปลาจากพ่อค้าแถวสันป่าข่อย แล้วจ้างล้อเกวียนมาส่งที่ประตูเชียงใหม่ นอกจากนั้นแล้วสองข้างถนนในเขตเมืองเชียงใหม่มีล้อเกวียนจอดรอรับจ้างขนของอยู่เป็นจำนวนมาก “งัวล้อ” จึงถือได้ว่า เป็นยานพาหนะในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ และชาวลานนา ก่อนที่ รถคอกหมู, รถสี่ล้อและรถบรรทุก จะเข้ามาแทนที่ “งัวล้อ” ก็ค่อยๆ หมดบทบาทลง แต่ทุกวันนี้ยังอาจมีการใช้งานตามหมู่บ้างบางแห่ง เช่น หมู่บ้านแม่ทา จังหวัดลำพูน, เชียงตุง
          การจัดการแข่งขันวิ่ง "เชียงใหม่มาราธอน ครั้งที่ 16" ในปีนี้ ตรงกับปีนักษัตรฉลุ (ปีวัว หรือ ปีงัวในภาษาเหนือ) และยังเป็นปีที่โรค โควิด-19 ระบาดหนักทั่วโลก (ปีแห่งโควิด หรือโคขวิด) ฝ่ายจัดการแข่งขันจึงได้นำเอาปีนักษัตรฉลุ (ปีงัว/ปีวัว) มาเป็นแนวคิดในการออกแบบของที่ระลึก (เสื้อวิ่ง-เสื้อ Finisher-เหรียญผู้ชิต) ให้กับผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้...

 

แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2022 (ครั้งที่ 15)
แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2019 (ครั้งที่ 14)

แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2018 (ครั้งที่ 13)
แนวคิด-ที่มา ของการออกแบบเสื้อที่ระลึก ปี 2017 (ครั้งที่ 12)
วัดเจดีย์หลวง

ได้นำเอาศิลปะของ รูปปั้นพญานาค วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร(Wat Chedi Luang)วัดสวย วัดใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ อายุกว่า 600 ปี มาเป็นแบบเสื้อและถ้วยรางวัล